ตระกูลโง่ว ขออุทิศบุญกุศลให้แก่ "คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา (แซ่โง่ว) และ บุพการี ญาติ พี่ น้อง ทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว


ธรรมะและแนวปฏิบัติเบื้องต้น ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว และ แนวทางที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เผยแพร่สั่งสอนมา
อันเป็นทางเพื่อออกจากทุกข์ทั้งหลาย และ แนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
เพื่อความกำหนดรู้ทุกข์ ละในสมุทัย ทำนิโรธให้แจ้ง เจริญให้มากในมรรค และ บางแนวทางปฏิบัติที่ผู้เขียนได้ปฏิบัติและพบเห็นด้วยตนเอง
โพสท์ไว้เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านผู้ศึกษาปฏิบัติได้ใช้เป็นอุบายแนวทางของการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ทั้งธรรมอันเป็นสิ่งที่ควรเสพย์(คือ ทำให้กุศลธรรมใดๆเกิดขึ้นแล้วอกุศลธรรมเสื่อมลง) และ ธรรมอันเป็นสิ่งไม่ควรเสพย์(คือ ทำให้กุศลธรรมเสื่อมลงแล้วอกุศลธรรมเกิดขึ้น) ทั้งหลายในเบื้องต้นเท่านั้น
เพื่อให้พุทธบริษัททั้งหลาย เห็นความสำคัญจากบทสวดมนต์ และ สามารถกรรมฐานจากบทสวดมนต์ทั้งหลาย พร้อมแนวทางปฏิบัติทั้งปวงของครูบาอาจารย์ทั้งแล้ว และการนำมาประยุกต์ใช้ในแบบของผู้เขียน เหล่านี้ได้ถูกต้องและตรงให้ผลได้ไม่จำกัดกาล สงเคราะห์ลงในกรรมฐานทั้ง ๔๐ อันเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้น

ด้วยเดชแห่งบุญนั้น ขอบุญกุศลส่วนหนึ่งอุทิศให้แก่ "คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา (แซ่โง่ว) และ บุพการี ญาติ พี่ น้อง ทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดภพภูมิใดๆก็ตาม ขออำนาจแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ส่งแผ่พระยารมีให้ท่านได้รับและอนุโมทนาบุญอันนี้ แลได้รอดพ้นจากความทุกข์และภัยอันตรายทั้งปวงเทอญ"

แลขอบุญอีกส่วนหนึ่งแผ่ไปถึง คุณแม่ซ่อนกลิ่น เบญจศรีวัฒนา มารดาผู้ยังมีชีวิตอยู่ของข้าพเจ้า แลบุพการี ญาติ พี่ น้อง ลูก เมีย ของข้าพเจ้าทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ได้รับผลบุญนี้ ให้ได้รับความสุข รอดพ้นปราศจากจาก ทุกข์ ภัย อันตรายทั้งหลายทั้งปวงเทอญ


แลขอบุญอีกส่วนหนึ่งแผ่ไปถึงท่านผู้อ่านและเจริญปฏิบัติกรรมฐานตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย คนที่รัก ที่เกลียด ที่ชัง ที่เคยผูกจองเวรและพยายาบาทซึ่งกันและกัน คนที่รู้จักและไม่รู้จักิ สัตว์ใดๆ แมลงใดๆ ผีสางสัมภเวสี มาร พรหม เทวดาทั้งหลายขอให้ได้รับผลบุญนี้ ให้ได้รับความสุข รอดพ้นปราศจากจาก ทุกข์ ภัย อันตรายทั้งหลายทั้งปวงเทอญ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 


รายนามผู้จัดทำ

นาง ซ่อนกลิ่น เบญจศรีวัฒนา มารดา
นาง กัลยา วิลัยพิทย์
นาย วิเชียร วิลัยพิทย์
น.ส. สุมาลี เบญจศรีวัฒนา
น.ส. ศุภวรรณ(จินดา) เบญจศรีวัฒนา
อาจารย์ ปราณี ศรีประจง
อาจารย์ ชัยณรงค์ ศรีประจง
น.ส. ประนอม เบญจศรีวัฒนา
น.ส. นิตยา เบญจศีวัฒนา
นาย สุขสันต์(สุรศักดิ์) เบญจศรีวัฒนา
นาย ณัฏฐกลนนท์(เกียรติคุณ) เบญจศรีวัฒนา
น.ส. ปาริชาติ โลหะสาร
น.ส. กชพร อารีย์เอื้อ
นาย วรวิทย์ วิลัยพิทย์ หลายคนที่ 1 ของครอบครัว
นาย กฤษฎา ศรีประจง หลานคนที่ 2 ของครอบครัว
นาย จักกฤษ วิลัยพิทย์ หลายคนที่ 3 ของครอบครัว
นาย อติชาติ ศรีประจง หลานคนที่ 4 ของครอบครัว
ด.ช. สหรัถ เบญจศรีวัฒนา หลานคนที่ 5 ของครอบครัว
ด.ช. ภูมิพัฒน์ เบญจศรีวัฒนา หลานคนที่ 6 ของครอบครัว
พร้อมทั้ง ญาติ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ทั้งหลายทั้งสนิทและเป็นญาติห่างๆที่ไม่ได้เอ่ยชื่อทุกท่าน



ผู้ก่อตั้งกลุ่ม

29/03/2014 12:01 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๑


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ

หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด
บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)"ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



บทนำ


      หลายๆคนมักจะบอกว่าสมัยพุทธกาลไม่มีสวดมนต์ ไม่รู้ว่าจะสวดไปทำไม บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้โง่
แม้จะกล่าวว่าตนจบเปรียญธรรมประโยคสูงๆ หรือ เป็นครูผู้สอนศิษย์มากมายแต่เขาก็คือคนโง่ที่อวดความไม่มีปัญญาของตน
เป็นครูอาจารย์ผู้ลวงโลก อาศัยพระพุทธศาสนา หากินเพื่อ ลาภ ยศ สักการะ แก่ตน
หากบุคคลใด ไม่เข้าใจบทสวดมนต์ หรือ พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ
เขาก็มิอาจเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แม้คำเดียว
เพราะจริงๆแล้วบทสวดมนต์ทั้งหลายคือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นบทสวดเพื่อใช้ในกิจการงานต่างๆ
ผู้ไม่สวดมนต์คือผู้ที่ไม่ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดังนี้

ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกัน ได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริงในบทสวดมนต์ทั้งหลาย
เพื่อการ ระลึกถึง สวดมนต์ และ ปฏิบัติได้ถูกต้องไม่บิดเบือดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ใช่การกระทำด้วยกิเลสเครื่องล่อใจ
แต่ทำเพราะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา

บทสวดมนต์พระสูตร พระปริตรทั้งหลาย นั้นมีทั้งข้อวัตรปฏิบัติ แนวทางกรรมฐานทั้งหลาย หรือ ด้วยบารมีใด การปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น จึงส่งผลต่างๆเกิดขึ้นมา ด้วยพรรณาดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรสวดมนต์น้อมรับธรรมปฏิบัติทั้งหลายนี้ๆเข้ามาสู่ตน เพื่อการปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่ จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..

ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา
ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้อง ทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว
และส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้อง ที่ยังมีชีวิตอยู่ ขอท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ



อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ

กลุ่มไตรปิฎกสิกขา


[๒๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า 
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ 
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก 
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม 
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม 
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก 
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ 
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.
(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระตถาคตเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระตถาคตเช่นนี้ๆ เป็น "พุทธานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม 
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม 
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ 
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.
(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระธรรมเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระธรรมเช่นนี้ๆ เป็น "ธัมมานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า 
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ 
นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ
ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ 
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.
(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระสงสฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเช่นนี้ๆ เป็น "สังฆานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย 
เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปเพื่อสมาธิ 
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล 
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม 
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ 
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.
(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงศีลของตนเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงศีลอันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเช่นนี้ๆ เป็น "สีลานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ 
เราได้ดีแล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม 
เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันปล่อยแล้ว 
มีฝ่ามืออันชุ่ม (คอยหยิบของบริจาค) ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ 
ยินดีในการจำแนกทาน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ 
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม 
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ 
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.
(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงจาคะของตนเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงทานอันที่เราได้สละให้มาดีแล้วเช่นนี้ๆ เป็น "จาคานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์อยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ 
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่ 
เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่ 
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว 
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด 
อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ 
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้แล.
(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ แม้ของตนเช่นนี้ๆดั่งเทวดาเหล่านั้น เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ อันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเหมือนดั่งเทวดาเหล่านั้นเช่นนี้ๆ เป็น "เทวตานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อนุสสติฏฐานสูตร จบ


(อนุสสติฏฐานสูตร อาหุเนยยวรรคที่ ๑ ปฐมปัณณาสก์ ฉักกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ภาค ๓
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๖)

ขอขอบคุณที่มาจาก  อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ


ข้อสำคัญที่ควรรู้  คือ หากเรานั้นไม่ได้เจริญปฏิบัติใน ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ เราก็ไม่สามารถระลึกเจริญในอนุสสติ ๖ นี้ได้

29/03/2014 12:42 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๒

 

 

 

 

 

คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวา, ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ,

พุทธัง ภะคะวันตังอะภิวาเทมิให้ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน.

(กราบให้ตั้งจิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบเท้าของพระพุทธเจ้า


ส๎วากขาโตภะคะวะตาธัมโมให้ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เพื่อออกจากทุกช์
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ,

ธัมมัง นะมัสสามิห้ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เพื่อออกจากทุกช์
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.

(กราบ) ให้ตั้งจิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบเท้าของพระพุทธเจ้า และ พระธรรมเหล่านั้นที่พระพุทธตรัสไว้เดีแล้วพื่อออกจากทุกช์


สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ,ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลายหรือครูบาอาจารย์ที่เรานับถือเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ,

สังฆัง นะมามิ.ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลายหรือครูบาอาจารย์ที่เรานับถือเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.

(กราบให้ตั้งจิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบพระสงฆ์เหล่านั้น


นี่คือการบูชาพระรัตนตรัย และ เป็นการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย อนุสสติ พื้นฐาน
คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ แรกเริ่มพื้นฐาน  

 



บททำวัตรเช้า

 

ปุพพภาคนมการ

เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพเอื้อเฟื้อก่อน อาจจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชา ที่เรานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระพุทธเจ้าในรูป ที่เขาถ่ายติดที่ใต้ต้นโพธิ์ก็ได้ จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์บทปุพพภาคนมการดังนี้

 

(ผู้นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.

 

นะโมตัสสะภะคะวะโต ,               ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ,.

อะระหะโต ,                                 ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,.

สัมมาสัมพุทธัสสะ                      ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

นะโม
ตัสสะภะคะวะโต ,               ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ,.

อะระหะโต ,                                 ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,.

สัมมาสัมพุทธัสสะ                      ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

นะโม
ตัสสะภะคะวะโต ,               ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ,.

อะระหะโต ,                                 ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,.

สัมมาสัมพุทธัสสะ                      ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

 

(๓ ครั้ง)





พุทธาภิถุ
ติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน อาจจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชา ที่เรานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระพุทธเจ้าในรูป ที่เขาถ่ายติดที่ใต้ต้นโพธิ์ก็ได้

จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้


(ผู้นำ) หันทะ มะยังพุทธาภิถุติงกะโรมะเส.

โยโส ตะถาคะโต,
พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด,

อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,

สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,

สุคะโต, 
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,

โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย,

พุทโธ
เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม,

ภะคะวา,
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,

โยอิมังโลกังสะเทวะกังสะมาระกังสะพ๎รัห๎มะกัง
สัสสะมะณะ-พ๎ราห๎มะณิงปะชัง สะเทวะมะนุสสังสะยัง 
อะภิญญาสัจฉิกัต๎วาปะเวเทสิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว,
ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม, และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม,

โยธัมมังเทเสสิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว,

อาทิกัล๎ยาณัง, 
ไพเราะในเบื้องต้น,

มัชเฌกัล๎ยาณัง, 
ไพเราะในท่ามกลาง,

ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง
, 
ไพเราะในที่สุด,

สาตถังสะพ๎ยัญชะนังเกวะละปะริปุณณังปะริสุทธัง
พ๎รัห๎มะจะริยังปะกาเสสิ
,
ทรงประกาศพรหมจรรย์คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง,
พร้อมทั้งอรรถะ
 (คำอธิบาย)
พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)
 ,

ตะมะหังภะคะวันตังอะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,

ตะมะหังภะคะวันตังสิระสานะมามิ .
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกถึงพระพุทธคุณให้ตั้งจิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบเท้าของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นที่เราระลึกถึงอยู่

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย พุทธานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ




29/03/2014 1:19 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๓


 

   
   ธัมมาภิถุติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน จากนั้นค่อยระลึกถึงพระธรรมหรือพระสูตรใดๆก็ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว ให้เป็นพระธรรมที่เมื่อเราได้เจริญปฏิบัติแล้วเห็นว่า..เป็นเครื่องออกจากทุกข์ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล หรือ..ระลึกว่าพระตถาคตเจ้า กำลังแสดงธรรมแก่เรา แล้วเราน้อมรับพระธรรมนั้น

จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้


(ผู้นำ) หันทะมะยังธัมมาภิถุติงกะโรมะเส.

โยโสส๎วากขาโตภะคะวะตาธัมโม
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,

สันทิฏฐิโก, 
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ, พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,

อะกาลิโก, 
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล,

เอหิปัสสิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด,

โอปะนะยิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น,

ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ฯ

(กราบระลึกพระธรรมคุณให้ตั้งจิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบเท้าของพระพุทธเจ้าที่แสดงธรรมนั้นแก่เรา น้อมรับพระธรรมที่พระองค์ตรัสสอนไว้ดีแล้ว เพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ธัมมานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ





สังฆาภิถุติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ที่เป็นอรหันตสาวก หรือ พระอริยะสาวกก่อน อาจจะเป็นพระสงฆ์สาวกรูปใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชา ที่เรานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระอริยะสงฆ์สาวก หมู่พระสงฆ์ใดๆ ที่ในปัจจุบันนี้เราีรู้จักและเคารพนับถือ
จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้



(ผู้นำ) หันทะมะยังสังฆาภิถุติงกะโรมะเส.

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ,

จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

อาหุเนยโย, 
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,

ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,

ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,

อัญชะลิกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, 
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า,

ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น,

ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ฯ

(กราบระลึกพระสังฆคุณ) ให้ตั้งจิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบเท้าของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นที่เราระลึกถึงอยู่

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย สังฆานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพระสงฆ์ มีพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ

 



29/03/2014 1:25 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๔


รตนัตตยัปปณามคาถา


นั่งพับเพียบ..แล้วให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก่อน จากนั้นก็ระลึกว่า เรานั้นถึงแล้วซึ่งพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราจักประพฤติและปฏิบัติตามซึ่งธรรมอันดีทั้งหลายเหล่านั้นเพื่อความรอดพ้นจากอกุศลธรรมสิ่งที่ชั่วทั้งหลาย
จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้


(ผู้นำ) หันทะมะยังระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก,


วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,

ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,

โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด,

โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,

สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด,

โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส, 
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี,

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกังวัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตังปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวามา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา,

บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือ พระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่ง โดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจาก บุญนั้น,






30/03/2014 1:29 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๕


 สังเวคปริกิตตะนะปาฐะ (สำหรับอุบาสก-อุบาสิกา)


อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน, 
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้,

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก
ป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,

มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ, 
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า

ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในกายและใจเราตามบทสวดมนต์ดังนี้ เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นทุกขอริยะสัจตามจริง

ชาติปิ ทุกขา
, 
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโขความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโขความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขังมีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,

เสยยะถีทังได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

รูปูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,

เวทะนูปาทานักขันโธขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา,.

สัญญูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,

สังขารูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,

วิญญานูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ,

เยสัง ปะริญญายะ, เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง,

ธะระมาโน โส ภะคะวาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก,

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนีพะหุลา ปะวัตตะติ, อนึ่ง, คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า,

รูปัง อะนิจจังรูปไม่เที่ยง,   เวทะนา อะนิจจาเวทนาไม่เที่ยง,

สัญญา อะนิจจาสัญญาไม่เที่ยง,   สังขารา อะนิจจาสังขารไม่เที่ยง,

วิญญาณัง อะนิจจัง,วิญญาณไม่เที่ยง,

รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน,   เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน,

สัญญา อะนัตตาสัญญาไม่ใช่ตัวตน,   สังขารา อะนัตตาสังขารไม่ใช่ตัวตน,

วิญญาณัง อะนัตตาวิญญาณไม่ใช่ตัวตน,

สัพเพ สังขารา อะนิจจาสังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,

เต (ตามะยัง โอติณณาม๎หะพวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,

ชาติยาโดยความเกิด, ชะรามะระเณนะโดยความแก่ และความตาย,

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย,

ทุกโขติณณาเป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,

ทุกขะปะเรตาเป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้,จะพึงปรากฏชัด แก่เราได้,

 

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,

เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ,

ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย, 

ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง,

สา สา โน ปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย,

อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

 

..........................................(จบคำทำวัตรเช้าชอง อุบาสก อุบาสิกา)

 

นี่คือบทพิจารณาเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ทุกขอริยะสัจ โดยย่อ คือ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า..เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดยย่อ หากผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่รู้ในส่วนนี้ก็ปฏิบัติกรรมฐานในส่วนอื่นได้ยาก



 


30/03/2014 1:53 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๖


 สังเวคปริกิตตะนะปาฐะ (สำหรับพระภิกษุ-สามเณรสวด)


อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน, 
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้,

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก
ป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,

มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ, 
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า

ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในกายและใจเราตามบทสวดมนต์ดังนี้ เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นทุกขอริยะสัจตามจริง

ชาติปิ ทุกขา
, 
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโขความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโขความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขังมีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,

เสยยะถีทังได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

รูปูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,

เวทะนูปาทานักขันโธขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา,.

สัญญูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,

สังขารูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,

วิญญานูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ,

เยสัง ปะริญญายะ, เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง,

ธะระมาโน โส ภะคะวาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก,

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนีพะหุลา ปะวัตตะติ, อนึ่ง, คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า,

รูปัง อะนิจจังรูปไม่เที่ยง,   เวทะนา อะนิจจาเวทนาไม่เที่ยง,

สัญญา อะนิจจาสัญญาไม่เที่ยง,   สังขารา อะนิจจาสังขารไม่เที่ยง,

วิญญาณัง อะนิจจัง,วิญญาณไม่เที่ยง,

รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน,   เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน,

สัญญา อะนัตตาสัญญาไม่ใช่ตัวตน,   สังขารา อะนัตตาสังขารไม่ใช่ตัวตน,

วิญญาณัง อะนัตตาวิญญาณไม่ใช่ตัวตน,

สัพเพ สังขารา อะนิจจาสังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,

เต (ตามะยัง โอติณณาม๎หะพวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,

ชาติยาโดยความเกิด, ชะรามะระเณนะโดยความแก่ และความตาย,

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย,

ทุกโขติณณาเป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,

ทุกขะปะเรตาเป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้,จะพึงปรากฏชัด แก่เราได้,

 

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น,

สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,

ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รัห๎มะจะริยัง จะรามะ,
ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,

ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา,
ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย,

ตัง โน พ๎รัห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะสังวัตตะตูติ
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น,จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้เทอญ.


..........................................(จบคำทำวัตรเช้าชอง ภิกษุ สามเณร)

 

นี่คือบทพิจารณาเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ทุกขอริยะสัจ โดยย่อ คือ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า..เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดยย่อ หากผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่รู้ในส่วนนี้ก็ปฏิบัติกรรมฐานในส่วนอื่นได้ยาก




30/03/2014 2:29 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๗

 


บทสวดมนต์แปล ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ


ให้น้อมเข้ามาพิจารณาใน ปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ที่เรากินเราใช้อยู่ประจำตามบทสวดมนต์ดังนี้ เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นถึงความจำเป็นในสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง และ ถึงซึ่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นในปัจจัยเหล่านี้เกินความจำเป็น


(ผู้นำ) หันทะมะยังตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐังภะณามะ เส.

(ข้อว่าด้วยจีวร)

ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิเราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะเพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด,และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถังและเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ, อันให้เกิดความละอาย,


(ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปฏิเสวามิ
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต,

เนวะ ทะวายะไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,

นะ มะทายะไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย,

นะ มัณฑะนายะไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,

นะ วิภูสะนายะ,ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยาแต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะเพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยาเพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะเพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือ ความหิว,

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิและไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,
อนึ่ง, ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย, และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา, ดังนี้.


(ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)

ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิเราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว, ใช้สอยเสนาสนะ,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะเพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะเพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด, และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนังปะฏิสัลลานารามัตถัง,
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ, และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา,


(ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช)

ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว, บริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้,

ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่าง ๆ เป็นมูล,

อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติเพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.


นี่คือบทพิจารณาใน ปัจจัย ๔ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ว่ามีความจำเป็นอย่างไร ใช้เพื่อสิ่งใด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เป็นเพื่อความอยาก ความเพลิดเพลิน แต่เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่แก่ขันธ์ตามความจำเป็นเท่านั้น เพื่อการปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

 



30/03/2014 6:29 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๑


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๑


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ระลึกว่าเรานั้นกราบลงแทบพระบาทพระพุทธเจ้า
จากนั้นให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าดังนี้ว่า
ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้แจ้งโลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นครูผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนเทวดาและมุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
 (พุทธานุสสติกรรมฐาน)


เอวัมเม สุตัง
( ข้าพเจ้า ( คือพระอานนท์เถระ ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ )
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
( สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า )
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ
( เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี )
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
( ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า )

แล้วให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกว่าพระพุทธเจ้ามีพระกรุณาดุจห้วงมหันต์นพ
ได้ทรงเทศนาตรัสสอนพระธรรมนี้ๆ พระสูตรนี้ๆ ให้แก่เรา เพื่อเป็นทางเพื่อความหลุดพ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
ป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
 (ธัมมนุสสติกรรมฐาน)


เทฺวเม ภิกขะเว อันตา
 
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ )

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา 
( อันบรรพชิตไม่ควรเสพ )


โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
( คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด )
โน ( เป็นธรรมอันเลว ) คัมโม ( เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน ) โปถุชชะนิโก ( เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ) อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ )

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค
( คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด )
ทุกโข ( ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส )
อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ )
สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ )
สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ )
สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( การระลึกชอบ )
สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
(ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ )

น้อมจิตเข้าพิจารณาในธรรมดังนี้

ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )
[น้อมจิตพิจารณาถึงความที่เราเกิดขึ้นมานี้ มีความทุกข์กายและใจอย่างไรบ้าง เช่น ไม่กินไม่ได้ ไม่นอนไม่ได้ ไม่ขี้ก็ไม่ได้ ไม่เยี่ยวก็ไม่ได้ แต่ละวันต้องดำเนินชีวิตลำบากายและใจอย่างไร ไม่ว่าคนรวย คนจน หรือสัตว์ใดๆ บุคคลใดๆ ต่อให้สุขสบายอย่างไรย่อมหนีไม่พ้นความทุกข์นี้
(คำว่า ชาติ แปลว่า การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า ชาตินี่รวมไปถึงความเกิด เกิดขึ้น ชนิด จำพวกในสิ่งต่างๆ คน สัตว์ สิ่งของ จนถึงสภาพธรรมปรุงแต่งใดๆ การเกิดขี้นของสังขารใดๆทั้งปวงด้วยไม่ว่าจะเป็น รูปธรรม และ นามธรรม ทั้ง 2 หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง(ปฏิจจสมุปบาท)เช่น เมื่อเกิดความโกรธเราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความความปารถนาใคร่ได้เราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความกำหนัดยินดีเรามีสภาพกายและใจอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เมื่อเราพรัดพรากเรามีสภาพกายและใจเป็นอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เป็นต้น)]


ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงสภาพที่เมื่อแก่ชรา เมื่อเราแก่ตังลงการมองเห็นก็ฝ่าฟางลำบาก การจะขยับกายก็ลำบาก การเคี้ยวการกินก็ลำบาก จะไปไหนมาไหนก็ลำบาก จะขับถ่าย ขี้ เยี่ยวก็ลำบาก เวลาเมื่อเจ็บป่วยก็ทรมานไปทั้งกายและใจ อย่างนี้ๆเป็นต้นที่เรียกว่า แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงความตายเป็นเบื้องหน้า เมื่อตายแล้วต้องวนเวียนในวัฏฏะสงสารอีกเท่าไหร่ และ ไม่รู้ว่าเมื่อตายไปจะเกิดในภพภูมิใด สัมภเวสี เปรต หรือ สิ่งใด เมื่อตายแล้วต้องไปชดใช้กรรมใดๆอีก เมื่อจะมาเกิดใหม่ก็ไม่รู้จะเกิดเป็นคนหรือสัตว์ แม้เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นขอทาน คนพิการ อยู่ยากลำบาก หรือ กินดีอยู่ดีก็ฌยังไม่รู้

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
( แม้ความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ต้องการ อยากจะผลักหนีให้ไกลตนแต่ก็ต้องพบเจอโดยหนีไม่พ้น เราเป็นทุกข์ไหม]

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราต้องพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักคือ เลิกกับคนรักหรือคนรักตาย สัตว์ที่รักหายหรือตายไป ของที่รักพังทลายสูญหายไป เราเป็นทุกข์ไหม]

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราไม่ได้สิ่งใดๆตามที่ใจปารถนา คือ จีบสาวไม่ติด ทำกิจการงานแล้วผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่หวังไว้ ไม่ได้สิ่งของตามที่ใจปารถนา เราเป็นทุกข์ไหม]

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )
[น้อมจิตหวนระลึกพิจารณาดังนี้
๑. รูปขันธ์ คือ ร่างกาย เมื่อเข้าไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตน เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ จิตย่อมใคร่ปารถนาในกายให้ได้ให้เป็นไปตามที่ใจตนปารถนาไม่หยุด เมื่อไม่ได้ตามที่ใจปารถนาก็เป็นทุกข์ เมื่อเสื่อมโทรมก็เป็นทุกข์
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความเสวยอารมณ์ความรู้สึก ความสุขกาย ทุกข์กาย ไม่สุขไม่ทุกข์ทางกาย ความสุขใจ ทุกข์ใจ อุเบกขาทั้งกุศลและอกุศล เมื่อเรารู้อารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์)ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ใดๆแล้วเกิดเวทนา เมื่อเป็นสุขแล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอุปาทานว่านี่เป้นเรานี่เป็นของเราว่า สิ่งนี้ๆทำให้เราเป็นสุข เราก็แสวงหา ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ เมื่อเราได้ประสบพบเจอในอารมณ์ใดๆที่ไม่เป็นไปตามที่เรานั้นตั้งความพอใจยินดีเอาไว้ว่าเป็นสุข เราก็เกิดความทุกข์ทันที ก็สำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจว่าสิ่งนี้ๆเป็นสุข เป็นทุกข์
๓. สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ เมื่อเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาสัญญาใดๆแม้ในเรื่องใดสิ่งใดที่ผ่านมาแล้ว เมื่อเข้าหวนระลึกถึงความทรงจำใดๆย่อมก่อให้เกิด ความปรุงแต่งจิตคิดไปต่างๆนาๆ เม่ื่อเสพย์ความพอใจยินดีก็ปารถนา เสพย์ความไม่พอใจยินดีก็อยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก่อให้เกิดเป็นทุกข์
๔. สังขาร คือ ความปรุงแต่งจิต สิ่งที่เกิดขึ้นประกอบกับจิต ดับไปกับจิต เช่น ความรัก โลภ โกรธ หลงใดๆ เมื่อใจเรามีความติดใจกำหนัดปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ ขุ่นมัวขัดเคืองใจ อัดอั้นคับแค้นกายและใจ ผูกเวร ผูกพยายาบาท ลุ่มหลงมัวเมา เมื่อเราเข้ายึดมั่นถือมั่นกับความปรุงแต่งจิตนั้นๆ มันเป็นทุกข์ใช่ไหม
๕. วิญญาณขันธ์ คือ ใจ ความรู้อารมณ์ เช่น รับรู้การกระทบสัมผัสใน สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เมื่อเข้าไปมั่นมั่นถือมัุ่นกับสิ่งที่รู้อารมณ์ใดๆโดยวิญญาณขันธ์นี้ ไม่ว่าจะมองเห็นสี เห็นรูปใดๆ แล้วพอใจยินดีเข้าไปยึดว่าสวยงาม ก็ติดใจเพลิดเพลินใคร่ปารถนายินดีที่จะเสพย์อารมณ์นั้นๆ เมื่อเห็นแล้วไม่ชอบพอใจยินดี ก็ว่าไม่สวยไม่งาม ก็ไม่ปารถนาอยากจะผลักไสให้ไกลตนก็เป็นทุกข์]


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )
โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )
นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน )
ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )

กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ -
[ความเห็นว่าเที่ยง(สัสสตทิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆมีอยู่ไม่สูญไป เช่น ตายแล้วก็เกิดใหม่อีกไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด])


ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น [ความทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆที่พอใจยินดี])

วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น -
[ความเห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆสูญไม่มีอีก เช่น ตายแล้วจะไม่มีการกลับมาเกิดอีก])


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด )
จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )
มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ )
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว ( ความเลี้ยงชีวิตชอบ ) สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( ความระลึกชอบ ) สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )



30/03/2014 6:30 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๒


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๒


อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ )

[มีสติหวนระลึกพิจารณาถึงการดำเนินไปในชีวิตประจำวันของเรา ว่าเราต้องประสบพบเจอกับสิ่งใดๆบ้าง แลเมื่อได้รับการกระทบสัมผัสในอารมณ์ใดๆเหล่านั้นแล้ว เรามีความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งเสพย์เสวยอารมณ์ทางใจอย่างไรบ้าง หรือ มีความรู้สึกอาการทางกายอย่างไรบ้าง ให้กำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรานี้อยู่ให้เป็นประจำ จะทำให้เห็นแจ้งในทุกข์]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว )

[เมื่อเรากำหนดรู้ทุกข์ รู้ในอารมณ์ความรู้สึกอาการทางกายและใจเมื่อได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆแล้ว แลเห็นทุกข์ตามจริงอันเป็นผลจากการได้เสพย์ ไม่ได้เสพย์ หรือ ผลอันเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆที่ได้รับรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นแล้ว จิตใจเราย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นๆอารมณ์นั้นๆ เพราะเห็นว่ามันหาประโยชน์สุขไรๆอันแท้จริงไม่ได้นอกจากทุกข์เท่านั้น แลเห็นตามจริงว่าสุขที่ได้รับจากการเสพย์อารมณ์ไรๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นไปเพราะเกิดแต่ความติดใจเพลิดเพลิน กำหนัดยินดีเท่านั้น แล้วก็ต้องมาตะเกียกตะกายไขว่คว้าทะยานอยากหามาให้ได้สมกับความเพลิดเพลินใจปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ หรือ ทะยานอยากจะมีจะเป็นอย่างที่ตนเองตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีไว้ หรือ ทะยานอยากจะผลักหนีจากสิ่งอันที่ตนตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ว่าไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี ไม่เกิดเพลิดเพลิน มีแต่ความมัวหมองเศร้าหมองใจ หรือ ทุกข์อันเกิดแต่ความพรัดพรากบ้าง ไม่สมปารถนาบ้าง ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจไม่พึงปารถนาบ้าง ทุกข์อันเป็นไปในความเพลิดเพลินกำหนัดยินดีบ้าง เป็นต้น (นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดรู้ทุกข์)]

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละเสีย )
.
[ก็เมื่อเราได้กำหนดรู้ทุกข์ในชีวิตประจำวันอย่างแจ่มแจ้งแล้ว เราก็จะรู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น เห็นว่าทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เกิดขึ้นมาแต่เหตุไรๆ แล้วเพียรละที่เหตุนั้นเสีย]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะนันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง )

[เมื่อแลเห็นสมุทัยแล้ว รู้สิ่งที่ควรละแล้วความดับไปในทุกข์ในขั้นต้นย่อมเกิดขึ้นแก่กายและใจเราแล้ว เช่น ติดเหล้า เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ก่อนกิน โดยหวนระลึกถึงว่าทุกข์จากการกินเหล้าเป็นไฉน มึนเมา เจ็บป่วย เมื่อยล้า เงินไม่มี เสียงาน อารมณ์ร้อน ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ทั้งหมด เมื่อทำเสร็จแล้วก็เป็นทุกข์มหันต์ ระลึกถึงรสชาติที่ได้เสพย์มันว่า รสชาติมันเฟื่อนลิ้นเฟื่อนคอ เหม็นมีกลิ่นฉุน กินแล้วก็ร้อนคอร้อนท้องไม่อิ่มเหมือนข้าว หาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากความติดใจเพลิดเพลินแล้วก็มาผจญกับความสูญเสียอันหาประมาณมิได้ นี่เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ในเหล้า ทำให้เห็นคุณและโทษจากเหล้า จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในเหล้า สืบต่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ลงในธรรมและมีความเพียรตั้งมั่นที่จะออกจากทุกข์นั้น จิตย่อมน้อมหวนระลึกหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เหล่านี้คือเหล้า เหตุที่ทำให้เราอยากกินเหล้าคือสิ่งใดหนอ เมื่อหวนระลึกพิจารณาถึงก็จะเห็นว่า ความอยากนี่เอง ทำไมถึงอยากกินเหล้า ก็เพราะเราคอยตรึกนึกถึงมันนี่เอง ทำไมตรึกนึกถึงเสมอๆ ทีเรื่องที่ควรตระหนักถึงกลับไม่คิดถึง เมื่อหวนระลึกถึงก็จะเห็นว่าเหตุนั้นเพราะเราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับเหล้าไว้มาก ที่เราให้ความสำคัญกับเหล้าเพราะสิ่งใดหนอ เมื่อหวนพิจารณาจะเห็นว่าเพราะเราพอใจยินดีในเหล้านี่เอง ก็เพราะพอใจยินดีในเหล้าเลยยึดมั่นถือมั่นเอาโสมนัสเวทนาจากเหล้ามาเป็นที่ตั้งแห่งจิตแทนสติ+สัมปชัญญะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว เรารู้สมุทัยที่ควรละแล้ว เมื่อตั้งความเพียรที่จะละแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าเมื่อไม่พอใจยินดี ไม่ให้ความสำคัญในเหล้า ความอยากเหล้านี้ย่อมหายไป และ สภาพทางกาย สภาพแวดล้อม การเงิน ฯลฯ จะต้องดีขึ้นมากอย่างแน่นอน เมื่อเรามี ความเห็น ความคิดถึง ความตรึกถึง ความนึกถึง ความตรองถึง ความคำนึงถึง น้อมพิจารณาเช่นนี้ๆเป็นเบื้องต้นแล้ว จิตเราย่อมละวางความสำคัญมั่นหมายของใจในเหล้า ย่อมละความพอใจยินดีในอารมณ์ที่จะเสพย์ลง จิตใจเราย่อมแช่มชื่น ปราโมทย์ ผ่องใส อันเป็นผลเกิดจากกุศลจิตที่จะดับทุกข์นั้น ความดับทุกข์แม้เพียงแค่้คิดจะละเหตุนี้ ยังเกิดขึ้นแก่้เราเป็นเบื้องต้นแล้ว(แม้เป็นเพียงอุดมคติคือจากความคิดก็ยังสุขเลยนะครับ) เมื่อทำความดับทุกข์ให้แจ้ง กายและใจเราย่อมน้อมไปเพื่อปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งถึงความดับทุกข์อันแท้จริง ด้วยเห็นว่าเมื่อดับทุกข์เหล่านี้ได้แล้วผลลัพธ์มันเเป็นสุขเช่นนี้ๆ]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ )

[เมื่อทำนิโรธให้แจ้งแล้ว เห็นความสุขอันเกิดแต่ความดับทุกข์นั้นแล้ว เริ่มแรกอาจจะเห็นว่ามีแนวทางมากมายหลายทางที่จะดำเนินปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์นั้น เมื่อเราได้เพียรปฏิบัติในทางพ้นทุกข์ให้มากแล้วเราก็จะเห็นว่า ทางพ้นจากทุกข์เหล่านั้น คือ มรรคมีองค์ ๘ นี้เอง (การเจริญปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ทั้งหลายหากถึงความเป็นสัมมาแล้ว จะสงเคราะห์ลงในมรรค ๘ ได้ทั้งหมด มรรค ๘ จึงเป็นเรือข้ามฝั่งที่ใหญ่มากเพียงลำเดียวที่พระพุทธเจ้าจอดไว้ให้เรา ขึ้นอยู่แต่ว่าเราจะขึ้นเรือลำนี้ไหม)
ดังนั้นที่เราควรเจริญปฏิบัติให้มาก คือ มีกายสุจริต วาจาสุริต มโนสุจริต อันเกิดแต่ ศีล พรหมวิหาร๔(พรหมวิหาร๔นี้ เบื้องต้นปฏิบัติให้เจริญเมตตาจิตให้มากให้สภาพจิตเกิดเมตตาต่อกันจนเกิดเป็นสมาธิจะให้ผลดีมาก) ทาน สมาธิ ปัญญา(ความรู้แจ้งรู้เห็นตามจริงอันเกิดขึ้นด้วย สัมปชัญญะ+สติ และ สมาธิอันควรแก่งาน หรือ เจริญปฏิบัติใน กุศลกรรมบท๑๐ เป็นต้น จนเข้าถึงมรรค๘ อย่างแท้จริง อันเป็นเหตุให้ นิโรธอันแท้จริงเกิดแก่เรา)]



ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )


ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา
ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว )


เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น )

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว )


อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา
เครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ )


ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ
( ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว )
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
( ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก )



30/03/2014 6:32 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๓


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๓


อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
( พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว )
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
( พระภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า )

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
( ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ )
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ
( จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ )
"ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ"
( ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" )

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
( ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว )
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
( เหล่าภูมิเทวดา ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

( ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ )

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
(เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ"

( "นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ" )

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
( โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ )

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
( ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป )

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
( ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก )

อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
( ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ )

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
( ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า )

อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ
( โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ )

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
( เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว
ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ )




30/03/2014 6:53 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธชัคสูตร) # ๑

 

บทสวดธชัคคสูตร # ๑


ธชัคคสูตร

ป้องกันความสะดุ้งหวาดกลัว



เอวัม เม สุตังฯ 
ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้สดัลมาแล้วอย่างนี้ 

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา 
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า 

สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ 
เสด็จพระทับอยู่ที่เชตะวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกะเศรษฐีใกล้เมืองสาวัตถี

ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกขุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว 

ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ 
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ 

ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ 
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เรื่องดึงดำบรรพเคยมีมาแล้ว 

เทวาสุระสังคาโม 
สงครามแห่งเทพดากับอสูร

สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ 
ได้เกิดประชิดกันแล้ว

อะถะโข ภิกขะเว สักโก 
ครั้งนั้นแล ภิกขุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช

เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ 
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า

สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดา ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ 
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี

โส ปิหิยยิสสะติ 
อันนั้นจักหายไป

โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ 
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา

อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ 
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อ ปชาบดี

ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ 
อันนั้นจักหายไป

โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ 
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี

อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายบแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี 

โส ปะหิยยิส 
อันนั้นจักหายไป

สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ที่นั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน

อีสานัสสะ หิโว เทวะราาชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
เพราะว่าท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะตีติฯ 
อันนั้นจักหายไปดังนี้

ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล

สักกัสสะ วา เทวานะ มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม

ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี ก็ตาม

วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ วรุณ ก็ตาม

อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง 
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ อีสาน ก็ตาม 

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ 
อั้นนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่หายบ้าง 

ตัง กิสสะเหตุ 
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา

อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห 
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป

ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติฯ 
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้

อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ 
ดูก่อนภิกขทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า

สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา 
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม

อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ 
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั้นเทียวว่า
 



30/03/2014 6:53 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธชัคสูตร) # ๒


บทสวดธชัคคสูตร # ๒


ธชัคคสูตร

ป้องกันความสะดุ้งหวาดกลัว



ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็น พุทธานุสสติ ดังนี้้ 


อิติปิ 
แม้เพราะเหตุนี้ๆ

โส ภะคะวา 
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง 
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา (ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทรงละเว้นการทำความชั่วทั้งหมด จึงทรงหมดสิ้นความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งปวง)

สัมมาสัมพุทโธ 
เป็นผู้รู้ชอบเอง (ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ตรัสรู้ ทรงรู้แจ้งทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมีวิธีให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอน แม้พระองค์ทรงมีความรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นจากครูอาจารย์หลายสำนัก แต่ความรู้ที่ทรงรับนั้นไม่ใช่ความรู้เพื่อพ้นจากทุกข์ พระองค์ทรงบรรลุความรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง)

วิชชาจะระณะสัมปันโน 
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ (ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติปฏิบัติดี หมายถึง ความรู้ก็สมบูรณ์ดีเยี่ยมและความประพฤติดีงาม ทรงสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่ทรงรู้และปฏิบัติ ทรงสั่งสอนชาวโลกอย่างใดก็ทรงปฏิบัติอย่างนั้น ทั้งความรู้และความประพฤติสมดุลกัน พระพุทธเจ้าทรงมีความรู้และความประพฤติดีจนทำพระองค์ทรงพ้นจากกิเลสและความทุกข์ได้ แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามพระองค์จนได้บรรลุถึงความสุขในที่สุด)

สุคะโต 
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว  (หมายถึง วิถีทางที่เสด็จไปดีงาม พระองค์เสด็จไปสู่อริยมรรคที่ดีงาม คือ ทางประเสริฐสู่พระนิพพานนั่นเอง พระองค์เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินไปสู่ผลสำร็จไม่ถอยหลัง ไม่ถอยกลับตกจากฐานะที่บรรลุถึง ทรงดำเนินไปในทางอันถูกต้อง ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ไม่หลงไปในทางที่ผิด นี้เป็นความหมายของ สุคะโต หรือพระตถาคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว และยังหมายถึง เสด็จไปดีเพื่อผู้อื่น คือ เสด็จไปที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดสวัสดี เช่น เสด็จไปกลับใจโจรองคุลิมาลให้เป็นคนดี เป็นต้น)

โลกะวิทู 
เป็นผู้ทรงรู้โลก (ทรงรู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงรู้แจ้งความจริงของโลก โลกในที่นี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ที่เป็นไปต่างๆ ได้ทรงแนะนำสั่งสอนได้ตรงตามที่เขาต้องการ เป็นเหตุให้เขาปฏิบัติตามแล้วได้รับผลสำเร็จ)

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ 
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า (ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า หมายถึง ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะสมแก่บุคคล ทรงสอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญาและทำให้เขาบรรลุที่พึงได้เต็มตามกำลังความสามารถของเขา)

สัตถา เทวะมะนุสสานัง 
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย (ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ครูได้ดียอดเยี่ยม ทรงแนะนำพร่ำสอนชาวโลกด้วยพระกรุณาคุณ หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นหลัก ทั้งประโยชน์ในปัจจุบันคือชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้าและประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน)

พุทโธ 
เป็นผู้เบิกบานแล้ว (ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น หมายถึง ไม่ทรงหลง ไม่ทรงงมงาย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นจากความหลงงมงาย และทรงเป็นผู้เบิกบาน หมายถึง มีพระทัยผ่องใส บำเพ็ญพุทธกิจได้ครบถ้วนบริบูรณ์)

ภะคะวาติ 
เป็นผู้จำแนกธัมม์ ดังนี้ (ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ทรงหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ทรงประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา แม้มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายพระองค์ได้ และทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม หมายถึง ทรงอธิบายธรรมโดยนัยต่างๆ เหมาะสมแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง จนได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติของเขา)

มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ 
อันนั้นจักหายไป

โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ 
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา

อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ 
ที่นั้นพึงตามระลึกถึงพระธัมม์ว่า

ตั้งจิตมั่นระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วระลึกถึงคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เราได้เห็นทางพ้นทุกข์ เป็น ธัมมานุสสติ ดังนี้้ 

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 
พระธัมม์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

สันทิฏฐิโก 
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง

อะกาลิโก 
เป็นของไม่มีกาลเวลา

เอหิปัสสิโก 
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้

โอปะนะยิโก 
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ 
เป็นของอันวัญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้

ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธัมม์อยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา 
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ 
อันนั้นจักหายไป

โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ 
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระธัมม์

อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ 
ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระอริยะสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็น สังฆานุสสติ ดังนี้้ 

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
คือ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘ นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย 
ท่านเป็นผุ้ควรสักการที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม 

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ 
อันนั้นจักหายไป

ตัง กิสสะ เหตุ 
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

ตะถา คะโต หิ ภิกขะเว 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ 
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห 
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว 

อะภิรุ อัจฉัมภี 
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด

อะนุตราสี อะปะลายีติฯ 
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล

อิทะมะโวจะ ภะคะวา 
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ 

อิทัง วตวานะ สุคะโต 
พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา 
ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้อีกว่า

อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือในรุกขมูล หรือในเรือนเปล่า

อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ

ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา 
ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย

โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ 
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ

โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง 
ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน

อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ 
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธัมม์

นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ 
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธัมม์

นิยยานิกัง สุเทสิตัง 
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ 
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์

ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง 
ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว 
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ พระธัมม์และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้

ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล



30/03/2014 7:17 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเย็น) # ๑


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ

หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด
บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ ทำวัตรเย็น)"ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



บทนำ


      หลายๆคนมักจะบอกว่าสมัยพุทธกาลไม่มีสวดมนต์ ไม่รู้ว่าจะสวดไปทำไม บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้โง่
แม้จะกล่าวว่าตนจบเปรียญธรรมประโยคสูงๆ หรือ เป็นครูผู้สอนศิษย์มากมายแต่เขาก็คือคนโง่ที่อวดความไม่มีปัญญาของตน
เป็นครูอาจารย์ผู้ลวงโลก อาศัยพระพุทธศาสนา หากินเพื่อ ลาภ ยศ สักการะ แก่ตน
หากบุคคลใด ไม่เข้าใจบทสวดมนต์ หรือ พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ
เขาก็มิอาจเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แม้คำเดียว
เพราะจริงๆแล้วบทสวดมนต์ทั้งหลายคือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นบทสวดเพื่อใช้ในกิจการงานต่างๆ
ผู้ไม่สวดมนต์คือผู้ที่ไม่ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดังนี้

ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกัน ได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริงในบทสวดมนต์ทั้งหลาย
เพื่อการ ระลึกถึง สวดมนต์ และ ปฏิบัติได้ถูกต้องไม่บิดเบือดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ใช่การกระทำด้วยกิเลสเครื่องล่อใจ
แต่ทำเพราะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา

บทสวดมนต์พระสูตร พระปริตรทั้งหลาย นั้นมีทั้งข้อวัตรปฏิบัติ แนวทางกรรมฐานทั้งหลาย หรือ ด้วยบารมีใด การปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น จึงส่งผลต่างๆเกิดขึ้นมา ด้วยพรรณาดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรสวดมนต์น้อมรับธรรมปฏิบัติทั้งหลายนี้ๆเข้ามาสู่ตน เพื่อการปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่ จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..

ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา
ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้อง ทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว
และส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้อง ที่ยังมีชีวิตอยู่ ขอท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ


บทสวดพุทธคุณ

ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็น พุทธานุสสติ ดังนี้้

อิติปิ 
แม้เพราะเหตุนี้ๆ

โส ภะคะวา 
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง 
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา (ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทรงละเว้นการทำความชั่วทั้งหมด จึงทรงหมดสิ้นความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งปวง)

สัมมาสัมพุทโธ 
เป็นผู้รู้ชอบเอง (ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ตรัสรู้ ทรงรู้แจ้งทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมีวิธีให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอน แม้พระองค์ทรงมีความรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นจากครูอาจารย์หลายสำนัก แต่ความรู้ที่ทรงรับนั้นไม่ใช่ความรู้เพื่อพ้นจากทุกข์ พระองค์ทรงบรรลุความรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง)

วิชชาจะระณะสัมปันโน 
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ (ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติปฏิบัติดี หมายถึง ความรู้ก็สมบูรณ์ดีเยี่ยมและความประพฤติดีงาม ทรงสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่ทรงรู้และปฏิบัติ ทรงสั่งสอนชาวโลกอย่างใดก็ทรงปฏิบัติอย่างนั้น ทั้งความรู้และความประพฤติสมดุลกัน พระพุทธเจ้าทรงมีความรู้และความประพฤติดีจนทำพระองค์ทรงพ้นจากกิเลสและความทุกข์ได้ แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามพระองค์จนได้บรรลุถึงความสุขในที่สุด)

สุคะโต 
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว  (หมายถึง วิถีทางที่เสด็จไปดีงาม พระองค์เสด็จไปสู่อริยมรรคที่ดีงาม คือ ทางประเสริฐสู่พระนิพพานนั่นเอง พระองค์เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินไปสู่ผลสำร็จไม่ถอยหลัง ไม่ถอยกลับตกจากฐานะที่บรรลุถึง ทรงดำเนินไปในทางอันถูกต้อง ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ไม่หลงไปในทางที่ผิด นี้เป็นความหมายของ สุคะโต หรือพระตถาคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว และยังหมายถึง เสด็จไปดีเพื่อผู้อื่น คือ เสด็จไปที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดสวัสดี เช่น เสด็จไปกลับใจโจรองคุลิมาลให้เป็นคนดี เป็นต้น)

โลกะวิทู 
เป็นผู้ทรงรู้โลก (ทรงรู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงรู้แจ้งความจริงของโลก โลกในที่นี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ที่เป็นไปต่างๆ ได้ทรงแนะนำสั่งสอนได้ตรงตามที่เขาต้องการ เป็นเหตุให้เขาปฏิบัติตามแล้วได้รับผลสำเร็จ)

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ 
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า (ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า หมายถึง ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะสมแก่บุคคล ทรงสอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญาและทำให้เขาบรรลุที่พึงได้เต็มตามกำลังความสามารถของเขา)

สัตถา เทวะมะนุสสานัง 
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย (ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ครูได้ดียอดเยี่ยม ทรงแนะนำพร่ำสอนชาวโลกด้วยพระกรุณาคุณ หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นหลัก ทั้งประโยชน์ในปัจจุบันคือชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้าและประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน)

พุทโธ 
เป็นผู้เบิกบานแล้ว (ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น หมายถึง ไม่ทรงหลง ไม่ทรงงมงาย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นจากความหลงงมงาย และทรงเป็นผู้เบิกบาน หมายถึง มีพระทัยผ่องใส บำเพ็ญพุทธกิจได้ครบถ้วนบริบูรณ์)

ภะคะวาติ 
เป็นผู้จำแนกธัมม์ ดังนี้ (ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ทรงหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ทรงประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา แม้มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายพระองค์ได้ และทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม หมายถึง ทรงอธิบายธรรมโดยนัยต่างๆ เหมาะสมแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง จนได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติของเขา)



30/03/2014 7:30 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๒





บททำวัตรเย็น


ปุพพภาคนมการ


(ผู้นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.

นะโมตัสสะภะคะวะโต , ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ,
อะระหะโต , ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,

สัมมาสัมพุทธัสสะตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

นะโมตัสสะภะคะวะโต , ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ,
อะระหะโต , ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,

สัมมาสัมพุทธัสสะตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

นะโมตัสสะภะคะวะโต , ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ,
อะระหะโต , ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,

สัมมาสัมพุทธัสสะตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.




พุทธานุสส
ติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก่อน อาจจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชา ที่เรานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระพุทธเจ้าในรูป ที่เขาถ่ายติดที่ใต้ต้นโพธิ์ก็ได้

จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะมะยังพุทธานุสสะตินะยังกะโรมะเส.

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า ,

อิติปิ โส ภะคะวาเพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,

อะระหังเป็นผู้ไกลจากกิเลส,

สัมมาสัมพุทโธเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

วิชชาจะระณะสัมปันโนเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,

สุคะโตเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,

โลกะวิทูเป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,

สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,

พุทโธเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม,

ภะคะวาติเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.


นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย พุทธานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ



พุทธาภิคีติ

(ผู้นำ) หันทะมะยังพุทธาภิคีติงกะโรมะเส.

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งพระอรหันตคุณ เป็นต้น, 

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์,

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร
พระองค์ใด, ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน,

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง.
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์, ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้น, ด้วยเศียรเกล้า.

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด, เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง, ด้วยเศียรเกล้า,

พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสีวะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, 
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า,

วันทันโตหัง (วันทันตีหังจะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐ ของข้าพเจ้า,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน 
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และ ประกาศตนเป็น พุทธบริษัท ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า เป็น สรณะ


ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า ...(หมอบกราบลงว่า)


กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดีด้วยวาจาก็ดีด้วยใจก็ดี,

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า,

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.  เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.


นี่คือการเจริญปฏิบัติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ
เป็นการขอขมาโทษที่ได้ทำล่วงเกินต่อพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี หรือ ไม่ตั้งใจก็ดี

 


 


30/03/2014 7:45 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเย็น) # ๓


ธัมมานุสสติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน จากนั้นค่อยระลึกถึงพระธรรมหรือพระสูตรใดๆก็ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว ให้เป็นพระธรรมที่เมื่อเราได้เจริญปฏิบัติแล้วเห็นว่า..เป็นเครื่องออกจากทุกข์ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล หรือ..ระลึกว่าพระตถาคตเจ้า กำลังแสดงธรรมแก่เรา แล้วเราน้อมรับพระธรรมนั้น

จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะมะยังธัมมานุสสะตินะยังกะโรมะเส.

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมพระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว,

สันทิฏฐิโกเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,

อะกาลิโกเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,

เอหิปัสสิโกเป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,

โอปะนะยิโกเป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนดังนี้.


นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ธัมมานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระธรรม มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ



ธัมมาภิคีติ


(ผู้นำ) หันทะมะยังธัมมาภิคีติงกะโรมะเส
.

ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ, คือ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น,

โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน,

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะทาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม, จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว,

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง.
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น,อันเป็นเครื่องกำจัดเสียซึ่งความมืด.

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใด เป็นสะระณะอันเกษมสูงสุด, ของสัตว์ทั้งหลาย,

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สอง, ด้วยเศียรเกล้า

ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสีวะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,

พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม,

วันทันโตหัง (วันทันตีหังจะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน, 
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และ ประกาศตนเป็น พุทธบริษัท ถึงซึ่ง พระธรรม เป็น สรณะ



ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้น...
(หมอบกราบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม,

ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม. เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป.


นี่คือการเจริญปฏิบัติมีพระธรรมเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ
เป็นการขอขมาโทษที่ได้ทำล่วงเกินต่อพระธรรม 
ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี หรือ ไม่ตั้งใจก็ดี

 


 


30/03/2014 8:07 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๔


สังฆานุสสติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ที่เป็นอรหันตสาวก หรือ พระอริยะสาวกก่อน อาจจะเป็นพระสงฆ์สาวกรูปใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชา ที่เรานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระอริยะสงฆ์สาวก หมู่พระสงฆ์ใดๆ ที่ในปัจจุบันนี้เราีรู้จักและเคารพนับถือ

จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้


(ผู้นำ) หันทะมะยังสังฆานุสสะตินะยังกะโรมะเส.

สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,

อุชุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว, 

ญายะปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,

สามีจิปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทิทังได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ,

จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะปุริสะปุคคะลาคู่แห่งบุรุษ๔คู่ , นับเรียงตัวบุรุษได้๘บุรุษ,

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆนั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

อาหุเนยโยเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,

ปาหุเนยโยเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,

ทักขิเณยโยเป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,

อัญชะลิกะระณีโยเป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติเป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย สังฆานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพระสงฆ์ มีพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ

 



สังฆาภิคีติ


(ผู้นำ) หันทะมะยังสังฆาภิคีติงกะโรมะเส.

สัทธัมมะโชสุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต, 
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น,

โยฏฐัพพิโธอะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก,

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น, อันบวร,

วันทามะหังตะมะริยานะคะณังสุสุทธัง.
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น, อันบริสุทธิ์ด้วยดี.

สังโฆโยสัพพะปาณีนังสะระณังเขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด, ของสัตว์ทั้งหลาย,

ตะติยานุสสะติฏฐานังวันทามิตังสิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น,อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม, ด้วยเศียรเกล้า,

สังฆัสสาหัส๎มิทาโส (ทาสีวะ สังโฆเมสามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

สังฆัสสาหังนิยยาเทมิสะรีรัญชีวิตัญจิทัง
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์,

วันทันโตหัง (วันทันตีหังจะริสสามิสังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์,

นัตถิเมสะระณังอัญญังสังโฆเมสะระณังวะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะสัจจะวัชเชนะวัฑเฒยยังสัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

สังฆังเมวันทะมาเนนะ (วันทะมานายะยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิอันตะรายาเมมาเหสุงตัสสะเตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.


นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า และ ประกาศตนเป็น พุทธบริษัท ถึงซึ่ง พระสงฆ์ เป็น สรณะ


ตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ พระอรหันตสาวก พระอริยะสาวก ของพระพุทธเจ้า ...(หมอบกราบลงว่า)

กาเยนะวาจายะวะเจตะสาวา, ด้วยกายก็ดีด้วยวาจาก็ดีด้วยใจก็ดี

สังเฆกุกัมมังปะกะตังมะยายัง, กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์

สังโฆปะฏิคคัณหะตุอัจจะยันตัง, ขอพระสงฆ์จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเรสังวะริตุงวะสังเฆ. เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์ในกาลต่อไป ฯ


นี่คือการเจริญปฏิบัติมีพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ
เป็นการขอขมาโทษที่ได้ทำล่วงเกินต่อพระสงฆ์ 
ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี หรือ ไม่ตั้งใจก็ดี


(จบทำวัตรเย็น)



30/03/2014 8:26 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๕

บทสวดมนต์แปล อตีตปัจจเวกขณปาฐะ

 

ให้น้อมเข้ามาพิจารณาใน ปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ที่เรากินเราใช้อยู่ประจำตามบทสวดมนต์ดังนี้เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นถึงความจำเป็นในสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง และ ถึงซึ่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นในปัจจัยเหล่านี้เกินความจำเป็น

(ผู้นำ) หันทะมะยังอะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐังภะณามะ เส.

 

(ข้อว่าด้วยจีวร)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง,
จีวรใด อันเรานุ่งห่มแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะจีวรนั้น เรานุ่งห่มแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปฏิฆาตายะเพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด, และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถังและเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ, อันให้เกิดความละอาย.


(ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต,
บิณฑบาตใด อันเราฉันแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส เนวะ ทะวายะบิณฑบาตนั้น เราฉันแล้ว, ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,

นะมะทายะไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามัน, เกิดกำลังพลังทางกาย,

นะมัณฑะนายะ, ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ,

นะวิภูสะนายะไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะอิมัสสะกายัสสะฐิติยาแต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะเพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยาเพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะเพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ, 
ด้วยการกระทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า, คือ ความหิว,

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ, และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติอะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย,ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย, และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา, ดังนี้.


(ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง,
เสนาสนะใด อันเราใช้สอยแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะเสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะเพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจาก เหลือบ ยุง ลม แดด,และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง,
พียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้, ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา,


(ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ปะริภุตโต,
คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
คิลานเภสัชบริขารนั้น เราบริโภคแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันบังเกิดขึ้นแล้ว, มีอาพาธต่าง ๆ เป็นมูล,

อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติเพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.


นี่คือบทพิจารณาใน ปัจจัย ๔ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ว่ามีความจำเป็นอย่างไร ใช้เพื่อสิ่งใด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เป็นเพื่อความอยาก ความเพลิดเพลิน แต่เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่แก่ขันธ์ตามความจำเป็นเท่านั้น เพื่อการปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้



30/03/2014 9:21 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๖


บทเจริญอภิณหะปัจจะเวกขณะปาฐะ

 

ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในกายและใจเราตามบทสวดมนต์ดังนี้ เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ตามจริง

(ผู้นำ) หันทะมะยังอะภิณหะปัจจะเวกขะณะ ปาฐังภะณามะ เส.

ชะราธัมโมม๎หิ เรามีความแก่เป็นธรรมดา

ชะรังอะนะตีโต (ตาเราจะล่วงความแก่ไปไม่ได้

พ๎ยาธิธัมโมม๎หิ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

พ๎ยาธิงอะนะตีโต (ตา) เราจะล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้

มะระณะธัมโมม๎หิ เรามีความตายเป็นธรรมดา

มะระณังอะนะตีโต (ตา) เราจะล่วงความตายไปไม่ได้

สัพเพหิเมปิเยหิมะนาเปหินานาภาโววินาภาโว
   เราจะละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่าจะพลัดพรากจากของรัก, ของชอบใจทั้งหลายทั้งปวง

กัมมัสสะโกม๎หิ เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน

กัมมะทายาโท (ทา) เราเป็นผู้รับผลของกรรม

กัมมะโยนิ เราเป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด

กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

กัมมะปะฏิสะระโณ (ณาเราเป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยังกัมมังกะริสสามิ เราจักทำกรรมอันใดไว้

กัล๎ยาณังวาปาปะกังวา เป็นบุญหรือเป็นบาป

ตัสสะทายาโท (ทาภะวิสสามิ เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

เอวังอัมเหหิอะภิณหังปัจจะเวกขิตัพพัง เราทั้งหลายพิจารณาเนือง ๆ อย่างนี้แล ฯ

 


 


30/03/2014 9:40 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๗
  

วัตติงสาการปาฐะ

 

ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในกายและใจเราตามบทสวดมนต์ดังนี้ เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นปฏิกูลไม่น่าพิศมัยในกายเรานี้ตามจริง เป็นบทเจริญพิจารณาใน กายคตาสติกรรมฐาน

(ผู้นำ) หันทะมะยังทวัตติงสาการะปาฐังภะณามะ เส.

 

อะยังโขเมกาโย กายของเรานี้แล

อุทธัง
 ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปูโรนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ

อัตถิอิมัส๎มิงกาเย ในร่างกายนี้มี

เกสา ผมทั้งหลาย

โลมา ขนทั้งหลาย

นะขา เล็บทั้งหลาย

ทันตา ฟันทั้งหลาย

ตะโจ หนัง

มังสัง เนื้อ

นะหารู เอ็นทั้งหลาย

อัฏฐี กระดูกทั้งหลาย

อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก

วักกัง ม้าม

หะทะยัง หัวใจ

ยะกะนัง ตับ

กิโลมะกัง พังผืด

ปิหะกัง ไต

ปัปผาสัง ปอด

อันตัง ไส้ใหญ่

อันตะคุณัง ไส้น้อย

อุทะริยัง อาหารใหม่

กะรีสัง อาหารเก่า

ปิตตัง น้ำดี

เสมหัง น้ำเสลด

ปุพโพ น้ำหนอง

โลหิตัง น้ำเลือด

เสโท น้ำเหงื่อ

เมโท น้ำมันข้น

อัสสุ น้ำตา

วะสา น้ำมันเหลว

เขโฬ น้ำลาย

สิงฆาณิกา น้ำมูก

ละสิกา น้ำไขข้อ

มุตตัง น้ำมูตร

มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อมันสมองในกระโหลกศีรษะ

เอวะมะยังเมกาโย กายของเรานี้อย่างนี้

อุทธังปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปูโรนานัปปะการัสสะอะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ อย่างนี้แล ฯ



30/03/2014 9:52 pm
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๘

 กรวดน้ำอิมินา


ให้เจริญเมตตาจิต มีความปารถดีต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ผูกเวรใคร ไม่พยาบาทใคร 
ให้เจริญจิตขึ้น ปารถนาให้ตนเองและผู้อื่นเป็นสุข ปราศจากทุกข์ หลุดพ้นจากความร้อนรุ่มใจจากการผูกเวร พยาบาท
มีความอนุเคราะห์แบ่งปันสุขให้แก่ผู้อื่น  ยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข
เป็นการเจริญ เมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิต จนถึงความมีใจวางไว้กลางๆ
ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต
ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองร้อรุ่มคับแค้นกายและใจ
บทสวดกรวดน้ำอิมินานี้จัดอยู่ในการเจริญเมตตากรรมฐานเป็นการฝึกแผ่เมตตาไปแบบไม่มีประมาณในเบื้องต้น


(ผู้นำ) หันทะมะยังอุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโยภะณามะ เส.

อิ
มินาปุญญะกัม
เมนะ ด้วยบุญนี้อุทิศให้......อุปัชฌายาคุณุตตะรา อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ

อาจะริยูปะการาจะ แลอาจารย์ผู้เกื้อหนุน......มาตาปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ

สุริโยจันทิมาราชา สูรย์จันทร์แลราชา......คุณะวันตานะราปิจะ ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ

พ๎รัห๎มะมารา จะอินทา จะ พรหม มาร และอินทรราช......โลกะปาลาจะเทวะตา ทั้งทวยเทพ และโลกบาล

ยะโมมิตตามะนุสสาจะ ยมราชมนุษย์มิตร......มัชฌัตตาเวริกาปิจะ ผู้เป็นกลางผู้จองผลาญ

สัพเพสัตตาสุขีโหนตุ ขอให้เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน......ปุญญานิปะกะตานิเม บุญผองที่ข้าทำจงช่วยอำนวยศุภผล

สุขังจะติวิธังเทนตุ ให้สุขสามอย่างล้น......ขิปปังปาเปถะโวมะตัง ให้ลุถึงนิพพานพลัน

อิมินาปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ที่เราทำ......อิมินาอุททิเสนะจะ แลอุทิศให้ปวงสัตว์

ขิปปาหังสุละเภเจวะ เราพลันได้ซึ่งการตัด.......ตัณหุปาทานะเฉทะนัง ตัวตัณหาอุปาทาน

เยสันตาเนหินาธัมมา สิ่งชั่วในดวงใจ......ยาวะนิพพานะโตมะมัง กว่าเราจะถึงนิพพาน

นัสสันตุสัพพะทาเยวะ มลายสิ้นจากสันดาน.......ยัตถะชาโตภะเวภะเว ทุกๆ ภพ ที่เราเกิด

อุชุจิตตังสะติปัญญา มีจิตตรง และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ......สัลเลโขวิริยัมหินา พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย

มาราละภันตุโนกาสัง โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย......กาตุญจะวิริเยสุเม เป็นช่องประทุษร้าย ทำลายล้างความเพียรจม

พุทธาทิปะวะโรนาโถ พระพุทธผู้บวรนาถ......ธัมโมนาโถวะรุตตะโม พระธรรมที่พึ่งอุดม

นาโถปัจเจกะพุทโธจะ พระปัจเจกะพุทธะสม-.......สังโฆนาโถตตะโรมะมัง -ทบพระสงฆ์ที่พึ่งผะยอง

เตโสตตะมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพนั้น.......มาโรกาสังละภันตุมา ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง

ทะสะปุญญานุภาเวนะ ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง.......มาโรกาสังละภันตุมา อย่าเปิดโอกาสแก่มาร เทอญ.





สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน (บทสวดมนต์ทำวัตร เช้า-เย็น)
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน (บทสวดมนต์ พระสูตร)
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน (บทสวดมนต์ พระปริตร)


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๑
[March 29, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๒
[March 29, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๓
[March 29, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๔
[March 29, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๕
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๖
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า) # ๗
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๑
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๒
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๓
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธชัคสูตร) # ๑
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธชัคสูตร) # ๒
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเย็น) # ๑
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๒
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเย็น) # ๓
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๔
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๕
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๖
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๗
[March 30, 2014]

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น) # ๘
[March 30, 2014]



เตี่ย





A service of blog2net.com, powered by Chaonet.com